top of page
Writer's pictureUngkana Kerttongmee

ความผูกพัน: ทฤษฎีที่ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองและความสัมพันธ์

Updated: Jul 4

ทฤษฎีการผูกพัน เป็นรากฐานสำคัญของการวิจัยทางจิตวิทยา ช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ของเราได้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบโรแมนติก ทฤษฎีนี้ได้รับการพัฒนาโดย จอห์น บอลบี (John Bowlby) และต่อยอดโดย แมรี่ เอนส์เวิร์ธ (Mary Ainsworth) โดยชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ส่งผลต่อรูปแบบทางอารมณ์และความสัมพันธ์ของเราตลอดชีวิต การเข้าใจรูปแบบความผูกพันของตัวเอง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การศึกษาทางวิชาการ แต่เป็นก้าวสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเติมเต็มมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึงรูปแบบความผูกพัน ต้นกำเนิด ผลกระทบต่อความสัมพันธ์แบบโรแมนติก และวิธีการส่งเสริมการผูกพันที่มั่นคง (secure attachment) กันค่ะ

พื้นฐานของทฤษฎีรูปแบบความผูกพัน





แนวคิดของทฤษฎีความผูกพัน เกิดขึ้นจากการสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างทารกกับผู้เลี้ยงดูหลัก Bowlby เสนอว่า ความสัมพันธ์นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ Ainsworth ทำการทดลอง "สถานการณ์ประหลาด" (Strange Situation) ซึ่งทดลองในเด็กวัย 12-18 เดือน โดยเริ่มต้นให้เด็กเล่นกับคนเลี้ยงดูหลัก จากนั้นให้คนแปลกหน้าเข้ามาพูดคุย เล่นกับเด็ก ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูยังอยู่ และให้ผู้เลี้ยงดูแยกออกไปในระยะสั้นๆ ในครั้งแรก และ กลับมาเล่นกับเด็กอีกครั้ง และ แยกจากอีก โดยมีระยะเวลานานขึ้น เพื่อทดสอบปฏิกิริยาของเด็ก ทำให้สามารถจัดรูปแบบการผูกพันหลักเป็น 3 แบบ (ต่อมาขยายเป็น 4 แบบ) โดยแต่ละแบบมีพฤติกรรมและทัศนคติต่อความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป


  1. การผูกพันอย่างมั่นคง (secure attachment): บุคคลที่มีรูปแบบการผูกพันอย่างมั่นคง รู้สึกสบายใจทั้งกับความใกล้ชิดและความเป็นอิสระในความสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้วพวกเขาจะมีผู้เลี้ยงดูที่ตอบสนองต่อความต้องการ สร้างความรู้สึกมั่นคงและคู่ควรกับความรัก

  2. การผูกพันแบบกังวล-หมกมุ่น (anxious-preoccupied attachment): บุคคลที่กังวล มักต้องการความใกล้ชิดและความรัก แต่กลัวการผูกมัดและความรักแบบใกล้ชิด รูปแบบนี้มักเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งความรักและความใส่ใจที่ได้รับไม่แน่นอน

  3. การผูกพันแบบหลีกเลี่ยง-ตัดขาด (dismissive-avoidant attachment): บุคคลที่มีรูปแบบนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระเหนือสิ่งอื่นใด ไม่ต้องการความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูในแบบที่ผู้เลี้ยงไม่สนใจความต้องการของพวกเขา

  4. การผูกพันแบบหวาดกลัว-หลีกเลี่ยง (fearful-avoidant attachment) (เรียกอีกอย่างว่าไร้ระเบียบ): บุคคลที่มีรูปแบบความสัมพันธ์นี้ ต้องการความใกล้ชิดแต่กลัวการเจ็บปวดทางใจ ทำให้ส่งมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสับสนและไม่แน่นอนในความสัมพันธ์ รูปแบบนี้เกิดจากประสบการณ์เลวร้ายหรือสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูที่คาดเดายาก




การเข้าใจรูปแบบการผูกพันเหล่านี้ ทำให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ในความสัมพันธ์แบบโรแมนติก เมื่อเรารู้และเข้าใจก็สามารถที่จะปรับปรุงรูปแบบความผูกพันของเราเองไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่สุขภาพดีและเติบโตทางอารมณ์มากขึ้นได้



หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับรูปแบบความผูกพันของคุณ​ การพูดคุยกับนักจิตวิทยาสามารถช่วยคุณได้ นักจิตวิทยาสามารถให้คำแนะนำ ปรับมุมมอง และช่วยพัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสุขภาพดี



 

The Better You Counseling

คุณพร้อมหรือยังที่จะปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง? The Better You Counseling พร้อมเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับสู่ชีวิตที่ดีกว่า ด้วยบริการให้คำปรึกษาที่หลากหลายทั้ง Online และ Onsite เราพร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านสุขภาพจิตของคุณ

🔓 Individual Counseling: เซสชั่นส่วนตัวเพื่อสำรวจตัวตนและค้นหาแนวทางในการเติบโต

💑 Couple Counseling: เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างคู่รัก

👥 Group Counseling: แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน

เรายังมีหลักสูตรด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูง เพื่อเสริมทักษะการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ พร้อมด้วยบริการบำบัดรักษาเฉพาะทางสำหรับ:

🩹 ผู้ประสบภาวะสะเทือนขวัญทางใจ (Trauma)

✍️ การบำบัดผ่านการเขียน (Writing Therapy)

🧘‍♀️ Retreat Program ที่ผสมผสานการบำบัดและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

สำหรับองค์กร เราพร้อมให้บริการ:

🔍 วิเคราะห์สุขภาพจิตในที่ทำงาน

🎓 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในสถานที่ทำงาน

                     

 






Comentários


bottom of page